วัฒนธรรมการกินอาหารของชาวญี่ปุ่น

ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นขึ้นชื่อเรื่อง "มารยาท" มายาวนาน เรียกได้ว่าแทบจะทุกลมหายใจทุกย่างก้าวเลยก็ว่าได้ค่ะ
วันนี้ Mana Jang เลยจะมานำเสนอเรื่องของ "วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวญี่ปุ่น" เผื่อเพื่อนๆมีโอกาสร่วมโต๊ะอาหารกับคนญี่ปุ่น จะได้ลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการเสียมารยาทโดยไม่ได้ตั้งใจไป เพราะคนญี่ปุ่นเขาถือว่ามารยาทนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยทีเดียวค่ะ

Cr. 韮崎市-整体ありすけ
มารยาทบนโต๊ะอาหารของญี่ปุ่นนั้นมีอยู่มากมาย ดังนี้
  • ก่อนรับประทานอาหารคนญี่ปุ่นให้พูดว่า いただきます (อิทาดากิมัส) คือ จะทานแล้วนะคะ/ครับ และหลังรับประทานอาหารเสร็จก็พูดคำว่า ごちそうさま (โกจิโซซามะ) คือ ขอบคุณสำหรับอาหาร โดยจะพนมมือใว้ในระดับอก
  • ยกภภาชนะขึ้นระดับอกในระหว่างรับประทานอาหาร ด้วยมือข้างทีไม่ได้ใช้ตะเกียบ ยกเว้นว่าจะเป็นภาชนะที่ใหญ่เกินไปหรืออาหารที่มีการจัดเรียงไว้อย่างสวยงาม ไม่ควรทานอาหารโดยการก้มศีรษะเข้าไปใกล้ภาชนะ หรือที่เรียกว่า 犬食い (อินุกุอิ) เพราะถือเป็นสิ่งที่เสียมารยาท
  • เวลาคีบอาหารเข้าปาก ไม่ควรใช้มือรองใต้อาหาร หรือที่เรียกว่า "จานมือ" 手皿 (เทซาระ) แต่ควรใช้จานเล็กๆหรือฝาถ้วยแทน เพราะสำหรับคนญี่ปุ่นนั้นการใช้มือรองใต้อาหารถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดมารยาท
  • ใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารทุกชนิด โดยใช้เฉพาะส่วนปลายของตะเกียบเท่านั้น
  • ควรรับประทานอาหารสลับกันระหว่าง น้ำซุป - กับข้าว - ข้าวสวย โดยไม่ทานอย่างใดอย่างหนึ่งติดๆกัน
  • การทานน้ำซุปนั้น ให้ยกถ้วยซุปขึ้นดื่มโดยตรงกับถ้วย และจะไม่ใช้ช้อน
  • ในการดื่มน้นำซุปหรือทานบะหมี่ ให้ทานโดยมีเสียงดังเล็กน้อย
  • เมื่อเคี้ยวอาหารอยู่ในปาก ไม่ควรขยับตะเกียบไปมาหรือเตรียมที่จะคีบอาหารชิ้นอื่นต่อ
  • การขอข้าวสวยเพิ่ม ควรเหลือข้าวสวยติดก้นชามไว้ประมาณ 1 คำ
  • การรับชามข้าวหรือซุปที่ขอเพิ่ม ให้รับโดยใช้มือทั้ง 2 ข้าง แล้ววางลงด้านหน้าก่อนหนึ่งครั้งก่อนที่จะยกขึ้นมารับประทานต่อ
  • อาหารที่ไม่ชอบ หรือทานไม่ได้ ไม่ควรใช้ตะเกียบสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของอาหารจานนั้น
  • ไม่ท้าวข้อศอกบนโต๊ะอาหาร
  • ไม่ชะโงกหน้าไปดูอาหาร
  • ควรทานอาหารให้หมด
  • ไม่ลุกจากที่นั่งกลางคันโดยไม่จำเป็น
  • ไม่ใช้ไม้จิ้มฟันระหว่างการรับประทานอาหาร ควรใช้เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว โดยใช้มือข้างนึงป้องปากเอาไว้ และไม่ใช้เวลานานจนเกินไป
  • ไม่ใช้มือสัมผัสเส้นผม ระหว่างการรับประทานอาหาร
  • ไม่วางสิ่งของใว้บนโต๊ะอาหาร
  • ดื่มน้ำชาหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว
  • ไม่ใช้โทรศัพท์ในวงโต๊ะอาหาร
ถึงแม้ว่าทั้งหมดนี่จะเป็นมารยาทในการรับประทานอาหารของคนญี่ปุ่นก็จริง แต่ด้วยความที่ในปัจจุบันนั้นอาจจะทำได้ยากในบางเรื่อง แม้แต่่คญี่ปุ่นเองบางคนก็ไม่ใช่ว่าจะปฏิบัติตามนี้กันหมด แต่ก็ควรฝึกเอาใว้หากได้ร่วมโต๊ะกับญาติผู้ใหญ่ เพราะที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นจะเคร่งในเรื่องของเกียรติและศักดิ์ศรีของแต่ละฝ่ายในการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัดเลยทีเดียว เมื่อมีผู้หลักผู้ใหญ่มาร่วมโต๊ะอาหาร จึงต้องมีการจัดตำแหน่งการนั่งให้ถูกต้อง

มารยาทในการกำหนดที่นั่ง

Cr. www.meylisa.com
ที่นั่งในการรับประทานอาหารอย่างเป็นพิธีรีตรองหรือแบบเป็นทางการนั้นแบ่งเป็น ที่นั่งสูง 上座 (คามิซะ) และที่นั่งต่ำ 下座 (ชิโมซะ) ตามแต่ว่าหน้องที่ใช้รับประทานอาหารจะเป็นลักษณะใด
  • กรณีที่เป็นห้องญี่ปุ่น (ปูด้วยเสื่อทาทามิ) ที่นั่งด้านในที่ติดกับ 床の間 (โทโกโนมะ) หรือพื้นที่ยกขึ้นสูงเล็กน้อย สำหรังประดับรูปภาพหรือแจกันดอกไม้ จะเป็น "ที่นั่งสูง"
  • กรณีที่เป็นห้องมีโต๊ะเก้าอี้ ที่นั่งที่อยู่ไกลจากประตูหรือที่สามารถมองเห็นวิวที่สวยงามได้ จะเป็น "ที่นั่งสูง"
  • กรณีเป็นเคาน์เตอร์ ที่นั่งที่ตรงกับหัวหน้าพ่อครัว จะป็น "ที่นั่งสูง"
  • ในทุกกรณี หากนั่งติดประตูที่สุด จะเป็น "ที่นั่งต่ำ"
  • หากมีแขกคนสำคัญที่สุดของงาน แขกคนนั้นจะเข้ามาในห้องเป็นคนสุดท้าย และทุกคนที่อยู่ในห้องจะนั่งประจำที่กันแล้วเรียบร้อย
  • กรณีผู้ที่เป็นเด็กกว่าเดินทางมาพร้อมกบแขกคนสำคัญ ผู้ที่เป็นเด็กจะเป็นฝ่ายเดินตามแขกคนสำคัญจนมาถึงหน้าฟระตูห้อง และผู้ที่เป็นเด็กจะเดินไปเปิดประตูให้แขกคนสำคัญเข้าไปก่อน พร้อมกับกล่าวคำขอเสียมารยาท พร้อมกับเดินตามเข้าไป
  • เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ แขกคนสำคัญที่สุดจะเดินออกจากห้องก่อน จากนั้นจะตามด้วยผู้ที่นั่งอยู่ใน "ที่นั่งสูง" ตามลำดับ
ซึ่งเรื่องของลำดับที่นั่งในการรับประทานอาหารนั้นป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้หากรับประทานอาหารกับผู้ใหญ่หรือแขกคนสำคัในโอกาสต่างๆ แม้กระทั่งการไปกินเลี้ยงวันหยุดกับหัวหน้าที่บริษัทก็เช่นกัน นอกจากมารยาทในการรับประทานอาหารและการลำดับที่นั่งแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญพอๆกันเพราะเป็นสิ่งที่ เมื่อไปที่ปรระเทศญี่ปุ่นแล้วจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างแน่นอน นั่นก็คือ "มารยาทในการใช้ตะเกียบ" เพราะคนญี่ปุ่นใช้แต่ตะเกียวอย่างเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกานำช้อนส้อมมาใช้บ้างแล้วก็ตาม

มารยาทในการใช้ตะเกียบ

Cr. https://journey-of-japan.com
มารยาทในการใช้ตะเกียบนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดย Mana Jang จะยกมาเฉพาะข้อห้ามที่จำเป็นๆละกันค่ะ
  • 洗い箸 (อะระอิ บาชิ) คือ การจุ่มปลายตะเกียบลงไปล้างในถ้วยน้ำซุป ก่อนที่จะคีบอาหารอย่างอื่น
  • 振り上げ箸 (ฟุริ อาเกะ บาชิ) คือ การยกปลายตะเกียบชี้ขึ้นสูงกว่าหลังมือ ด้วยความลืมตัว
  • 拾い箸 (ฮิโรอิ บาชิ) คือ การคีบอาหารส่งต่อกันด้วยตะเกียบ หรือการที่คน 2 คน คีบอาหารชิ้นเดียวกันพร้อมกัน เปรียบเสมือนกับการคีบอัฐิภายหลังจากพิธีเผาศพ
  • 直橋 (จิคะ บาชิ) คือ การใช้ตะเกียบของตนเองคีบอาหารในจารวม โดยไม่ใช้ตะเกียบกลาง
  • 噛み箸 (คามิ บาชิ) คือ การกัดปลายตะเกียบ
  • くわえ箸 (คุวะเอะ บาชิ) คือ การอมตะเกียบไว้ในปาก
  • 回し箸 (มาวาชิ บาชิ) คือ การใช้ตะเกียบกวนน้ำซุปในถ้วยไปมา หากน้ำซุปตกตะกอนที่ก้นถ้วย ให้ใช้ตะเกียบคนเพียง 1 รอบเท่านั้น
  • 迷い箸 (มาโยอิ บาชิ) คือ การยกตะเกียบวนไปวนมาอย่างลังเล ไม่รู้จะเลือกรับประทานอะไร
  • もぎ箸 (โมกิ บาชิ) คือ การใช้ปากเล็มกินเมล็ดข้าวหรือเศษอาหารที่ติดอยู่กับปลายตะเกียบ
  • 涙箸 (นามิดะ บาชิ) คือ การทำให้น้ำซุปหรือโชยุที่ติดกับอาหารหรือปลายตะเกียบ ไหลหยดเรี่ยราด
  • 握り箸 (นิกิริ บาชิ) คือ การใช้มือกำตะเกียบ หรือการใช้นิ้วหนีบตะเกียบไว้พร้อมๆกับยกภาชนะขึ้นด้วยมือข้างเดียวกัน
  • ねぶり箸 (เนบุริ บาชิ) คือ การดูดหรือเลียตะเกียบ
  • にらみ箸 (นิรามิ บาชิ) คือ การถือชามข้าวด้วยมือข้างหนึ่ง และถือตะเกียบด้วยมืออีกข้างหนึ่ง แล้วจ้องมองไปยังอาหารเพื่อคิดว่าจะเลือกทานอะไรดี
  • 押し込み箸 (โอชิโคมิ บาชิ) คือ การใช้ปลายตะเกียบดันอาหารที่อยู่ในปาก ให้เข้าไปข้างใน
  • さぐり箸 (สะกุริ บาชิ) คือ การใช้ตะเกียบควานหาอาหารในจานรวม เพื่อเลือกอาหารที่ตนเองต้องการ
  • 指し箸 (สะชิ บาชิ) คือ การใช้ตะเกียบชี้ไปยังผู้อื่น
  • 刺し箸 (สะชิ บาชิ) คือ การใช้ตะเกียบจิ้มหรือเสียบอาหาร
  • せせり箸 (เสะเสะริ บาชิ) คือ การใช้ตะเกียบแทนไม้จิ้มฟัน
  • そら箸 (โซระ บาชิ) คือ การใช้ตะเกียบสัมผัสอาหาร แล้วเปลี่ยนใจ ไม่คีบขึ้นมา
  • 突き立て箸 (ทสึคิทาเตะ บาชิ) คือ การปักตะเกียบลงบนชามข้าว เสมือนเป็นของเซ่นไหว้เทพเจ้า
  • 渡し箸 (วาทาชิ บาชิ) คือ การวางตะเกียบพาดคร่อมชามข้าวหรือถ้วยซุป การพักตะเกียบในระหว่างที่หยุดทานชั่วขณะ ให้วางตะเกียบบนที่วางพักตะเกียบ หรือวางพาดไว้กับ "ขอบ" ของถาดอาหารหรือจานแบ่ง เท่านั้น
  • 寄せ箸 (โยเสะ บาชิ) คือ การใช้ตะเกียบเขี่ยเลื่อนจานชามที่อยู่ไกลตัวให้เข้ามาใกล้ๆ ควรกล่าวกับคนที่นั่งข้างๆ ให้ช่วยเลื่อนอาหารจานนั้นมาให้ หรือส่งจานแบ่งของตนเองไปยังคนข้างๆ เพื่อขอให้ช่วยตักอาหารให้ด้วย

Comments

Popular posts from this blog

ประวัติและที่มาของอาหารญี่ปุ่น

รีวิว Shibuya Shabu บุฟเฟ่ต์ในราคาเพียง 374 บาท!!!!