วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นมีหลากหลายมาก แต่หนึ่งในวัฒนธรรมที่จะสามารถเข้าถึงแก่นแท้ของญี่ปุ่นได้นั่นก็คือ "การชงชา" นั่นเองค่ะ
วันนี้ Mana Jang จะพามาเยี่ยมชมและทำความรู้จักวิธีการชงชาในแบบของญี่ปุ่นกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาเริ่มกันเลยค่ะ! いきまちょう!~
การชงชาของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมีพิธีการชงชาที่เรียกว่า ชะโด (茶道) หรือ ชาโนะยุ (茶の湯) เป็นศิลปะการชงชาเขียวหรือมัทชาในรูปแบบหนึ่ง พิธีนี้เกิดขึ้นเมื่อยุคนาระ (ประมาณ 1,000 กว่าปีที่แล้ว) ตามประวัติศาสตร์มีการเล่าว่า มีพระสงฆ์นามว่า เอซู (永忠) จากประเทศจีน ได้เดินทางมาถวายชาเขียวที่มาจากประเทศจีนให้แก่จักรพรรดิซางะ ที่เมืองคาราซากิ ในปี พ.ศ.1358 จึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลการชงชาเขียวจากจีนและแพร่หลายอย่างมากในภูมิภาคคันไซ
หัวใจพิธีชงชา คือ ความสุนทรีย์ในความเรียบง่าย การรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติด้วยจิตใจที่นิ่งสงบและบริสุทธิ์ ซึ่งสิ่งนี้คือปรัชญาของชะโด
อุปกรณ์สำหรับพิธีชงชา
- นัทสึเมะ คือ โถใส่ผงชามัทฉะ
- ชะอิเระ คือ โถใส่ชา ทำจากเซรามิก
- ชะฉะคุ คือ ช้อนตักผงชา มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก
- ชะเซน คือ อุปกรณ์สำหรับคนชาให้เข้ากัน ทำจากไม้ไผ่ โดยจะคนลงตรงกลางถ้วยช้าๆ
- ชะคิง คือ ผ้าที่ทำจากป่าน ใช้สำหรับเช็กถ้วยชา
- ชะวัง คือ ถ้วยใส่ชาขนาดใหญ่ ต่างกันไปตามฤดู
- ฮิชะคุ คือ อุปกรณ์ไว้ตักน้ำชงชา ฤดูร้อนจะมีขนาดเล็ก ฤดูหนาวจะมีขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล
- ชะคะมะ คือ กาน้ำสำหรับใช้ต้มน้ำใส่ชา
พิธีการชงชา
แนวคิดพิธีชงชานั้น จะใช้คำว่า “เทะมะเอะ” (手前) ในพิธีชงชา
- ใช้ชะฉะคุ ตักผงชาจากโถใส่ชาลงในถ้วยชา
- ใช้กระบวยตักน้ำ ตักน้ำร้อนใส่ถ้วยชา
- ใช้ชะเซนคนชาให้เข้ากัน
- สำหรับแขกผู้ดื่มชา จะจับถ้วยชาด้วยมือขวา โดยแบมือซ้ายเพื่อวางถ้วยชา
- โดยการหมุนถ้วยชาไปตามเข็มนาฬิกา แล้วค่อยดื่ม
- หลังจากดื่มชาแล้ว เช็ดขอบถ้วยตรงบริเวณที่ดืม แล้วหมุนถ้วยขาทวนเข็มนาฬิกา 3ครั้ง แล้วจึงวางถ้วยชาเพื่อส่งคืน
การเรียนรู้เรื่องการชงชานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่เป็นเรื่องยากเช่นกัน เนื่องจากในประเทศญีุ่่นนั้นมีโรงเรียนสอนโดยเฉพาะ หรือสำหรับนักท่องเที่ยวนั้นก็จะมีสถานที่เรียนรู้วิธีการชงชาในระยะเวลาสั้นๆ อย่างที่อาซากุสะ, เกียวโต หรือตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆทั่วประเทศญี่ปุ่น
Comments
Post a Comment