Posts

วัฒนธรรมข้าวกล่องญี่ปุ่น

Image
松花堂弁当ข้าวกล่อง หรือว่า เบนโตะ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น  หลายคนคงจะเห็นกันมาบ้างแล้วตามอนิเมะเรื่องต่างๆที่ตัวละครมักจะห่อข้าวกล่องไปทานที่โรงเรียนในช่วงพักกลางวัน ข้าวกล่อง หรือ เบนโตะ (弁当) คือ อาหารที่จัดเตรียมใส่กล่องไว้ เพื่อนำไปทานนอกบ้าน หรือระหว่างเดินทาง ย้อนกลับไปเมื่อ สมัยอาซูจิ–โมโมยามะ (ปีพ.ศ.2116-2146) ได้มีการเริ่มผลิตกล่องไม้ใว้ใส่อาหารครั้งแรก ใน สมัยเมจิ (ปีพ.ศ.2411-2455) ได้เริ่มมีการจำหน้ายเบนโตะตามสถานีรถไฟเป็นครั้งแรก เบนโตประเภทนี้เรียกว่า "เอกิเบน" (駅弁) ต่อมาในสมัยเดียวกันทางโรงเรียนก็เลิกแจกอาหารกลางวัน ให้นักเรียนและคุณครูนำเบนโตะมาจากบ้านเอง แม้กระทั่งพนักงานบริษัทก็พกเบนโตะไปทำงานด้วย ต่อมา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เบนโตะได้รับความนิยมมากที่สุดหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปจนถึงปัจจุบันนี้ Cr.  https://www.catdumb.com/chara-ben/ ข้าวกล่องเบนโตะนั้นแบ่งออกได้หลากหลายประเภท ดังนี้ ชูคะ เบนโตะ (中華弁当) เป็นเบนโตะอาหารจีน ฮิโนมารุ เบนโตะ (日の丸弁当) เป็นเบนโตะที่ประกอบด้วยข้าวขธรรมดาและบ๊วยตรงกลาง ซึ่งชื่อ "ฮิโนะมารุ" เป็นชื่...

การหมัก "สาเก"

Image
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้รับความนิยามอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเบียร์คิริน, อาซาฮิ, ซัปโปโร และอีกหนึ่งอย่างที่นิยมกันก็คือ "สาเกญี่ปุ่น" นั่นเอง สาเกนั้นเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของชาวญี่ปุ่นมายาวนานหลายศตวรรษ จึงทำให้ไม่รู้แน่ชัดถึงช่วงเวลาต้นกำเนิดที่แท้จริง ประวัตความเป็นมาที่เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกของประเทศญี่ปุ่นซึ่งรวบรวมไว้ในปี พ.ศ.1255 อยู่ในช่วง ยุคนาระ (奈良時代) พ.ศ.1253-1337 ต่อมาใน ยุคเฮอัน (平安時代) พ.ศ. 1337-1728 สาเกเริ่มถูกใช้ประกอบในพิธีทางศาสนา และผู้คนก็เริ่มดื่มสาเกกันบ่อยขึ้น ในช่วงแรกโรงผลิตเหล้าอยู่ในการดูแลของรัฐบาล แต่ใน คริสต์ศตวรรษที่ 10 (พ.ศ.1444-1543) ตามวัดและศาลเจ้าก็เริ่มหมักเหล้ากันเอง และก็กลายเป็นสถานที่หลักในการหมักสาเกเป็นระยะเวลานานถึง 500 ปี ทำให้ใน คริสต์ศตวรรษที่ 18 (พ.ศ.2244-2343) สาเกก็กลายเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับความนิยมสูงมากในญี่ปุ่น  ปัจจุบันนี้ สาเกเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และมีอุตสาหกรรมการผลิตสาเกกระจายอยู่หลายแห่งทั่วโลก อีกทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นยังกำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปีเป็น...

วัฒนธรรมการกินอาหารของชาวญี่ปุ่น

Image
ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นขึ้นชื่อเรื่อง "มารยาท" มายาวนาน เรียกได้ว่าแทบจะทุกลมหายใจทุกย่างก้าวเลยก็ว่าได้ค่ะ วันนี้ Mana Jang เลยจะมานำเสนอเรื่องของ "วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวญี่ปุ่น" เผื่อเพื่อนๆมีโอกาสร่วมโต๊ะอาหารกับคนญี่ปุ่น จะได้ลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการเสียมารยาทโดยไม่ได้ตั้งใจไป เพราะคนญี่ปุ่นเขาถือว่ามารยาทนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยทีเดียวค่ะ Cr.  韮崎市-整体ありすけ มารยาทบนโต๊ะอาหารของญี่ปุ่นนั้นมีอยู่มากมาย ดังนี้ ก่อนรับประทานอาหารคนญี่ปุ่น ให้ พูดว่า いただきます (อิทาดากิมัส) คือ จะทานแล้วนะคะ/ครับ และหลังรับประทานอาหารเสร็จก็พูดคำว่า ごちそうさま (โกจิโซซามะ) คือ ขอบคุณสำหรับอาหาร โดยจะพนมมือใว้ในระดับอก ยกภภาชนะขึ้นระดับอกในระหว่างรับประทานอาหาร ด้วยมือข้างทีไม่ได้ใช้ตะเกียบ ยกเว้นว่าจะเป็นภาชนะที่ใหญ่เกินไปหรืออาหารที่มีการจัดเรียงไว้อย่างสวยงาม ไม่ควร ทานอาหารโดยการก้มศีรษะเข้าไปใกล้ภาชนะ หรือที่เรียกว่า 犬食い (อินุกุอิ) เพราะถือเป็นสิ่งที่เสียมารยาท เวลาคีบอาหารเข้าปาก ไม่ควร ใช้มือรองใต้อาหาร หรือที่เรียกว่า  "จานมือ"  手皿 (เทซาระ)...

วัฒนธรรมการชงชาแบบญี่ปุ่น

Image
     วัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นมีหลากหลายมาก แต่หนึ่งในวัฒนธรรมที่จะสามารถเข้าถึงแก่นแท้ของญี่ปุ่นได้นั่นก็คือ "การชงชา" นั่นเองค่ะ      วันนี้ Mana Jang จะพามาเยี่ยมชมและทำความรู้จักวิธีการชงชาในแบบของญี่ปุ่นกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาเริ่มกันเลยค่ะ! いきまちょう!~ Cr.  www.teatrailsindia.com      การชงชาของประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมีพิธีการชงชาที่เรียกว่า ชะโด (茶道) หรือ ชาโนะยุ (茶の湯) เป็นศิลปะการชงชาเขียวหรือมัทชาในรูปแบบหนึ่ง พิธีนี้เกิดขึ้นเมื่อยุคนาระ (ประมาณ 1,000 กว่าปีที่แล้ว) ตามประวัติศาสตร์มีการเล่าว่า มีพระสงฆ์นามว่า เอซู (永忠) จากประเทศจีน ได้เดินทางมาถวายชาเขียวที่มาจากประเทศจีนให้แก่จักรพรรดิซางะ ที่เมืองคาราซากิ ในปี พ.ศ.1358 จึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลการชงชาเขียวจากจีนและแพร่หลายอย่างมากในภูมิภาคคันไซ      หัวใจพิธีชงชา คือ ความสุนทรีย์ในความเรียบง่าย การรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติด้วยจิตใจที่นิ่งสงบและบริสุทธิ์ ซึ่งสิ่งนี้คือปรัชญาของชะโด อุปกรณ์สำหรับพิธีชงชา Cr. www.japanhoppers.com นัทสึเมะ คือ ...

6 ร้านอาหารญี่ปุ่นแท้ๆ ในประเทศไทย

Image
สวัสดีค่ะ พบกับ Mana Jang กันอีกครั้งนะคะ เนื่องจากทุกวันนี้ประเทศไทยเรามีร้านอาหารญี่ปุ่นงอกเงิยออกมาเยอะแยะเต็มไปหมด ไม่ว่าจะไปที่ไหนๆก็เจอร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งนั้น ทุกๆคนเคยสงสัยกันไหมคะ ว่าร้านอาหารญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยนั้น "มีร้านไหนบ้างที่ส่งตรงมาจากประเทศญี่ปุ่นจริงๆ?" นั่นจึงทำให้วันนี้ Mana Jang จะมาบอกว่ามีร้านไหนบ้างที่มาจากประเทศญี่ปุ่นจริงๆ มาเริ่มร้านแรก  " Sukiya "  ข้าวหน้าเนื้อที่มีสาขาก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2525 ที่เมืองโยโกฮาม่า ร้าน Sukiya เป็นร้านที่มีสาขามากเป็นอันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น ถึง 2,000 สาขา และปัจจุบันมีสาขาในประเทศไทย 26 สาขา ในประเทศญี่ปุ่นยังเป็นร้านท่เปิดตลอด 24 ชม.อีกด้วย มีเพียงบางร้านเท่านั้นที่มีเวลาเปิดปิดตามเวลาห้าง ราคาอยู่ที่ 350 เยน (~105 บาท) มาต่อกันที่  " CoCo Ichibanya "  ร้านข้าวแกงกะหรี่ป้ายเหลืองชื่อดัง ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 2525 ที่ประเทศญี่ปุ่น จังหวัดไอจิ เมืองอิจิโนมิยะ โดย Toshiya Hamajima ปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นมีสาขาถึง 1,299 สาขา และในประเทศไทยอีก 28 สาขา ร้านนี้ใน...

รีวิวร้าน Hachiban Ramen สาขา Future Park Rangsit

Image
     คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักร้านนี้กันแน่นอนค่ะ ร้านนี้ถือว่าเป็นร้านที่อาหารอร่อยและราคาถูกอีกด้วยถ้าเทียบกับร้านอื่นๆ แถมร้านนี้ยังเป็นร้านดั้งเดิมส่งตรงมาจากประเทศญี่ปุ่นเลยค่ะ บรรยากาศการตกแต่งร้านเป็นแบบเรียบง่าย มีคำอธิบายถึงความเป็นมาของร้านเป็นภาษาญี่ปุ่นอยู่รอบๆตัวร้าน      ร้านฮะจิบังราเมนเป็นธุรกิจของ บริษัท ฮะจิบัง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ภูมิภาคชูบุ จังหวัดอิชิกาวะ เมืองคานาซาวะ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1967 ปัจจุบันมีสาขาในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด 140 สาขาทั่วประเทศ มีสาขาในประเทศไทยทั้งหมด 126 สาขาทั่วประเทศ และยังมีที่ฮ่องกงอีก 8 สาขาด้วยกัน      ร้านฮะจิบังราเมนได้เข้ามาเปิดสาขาแรกในไทยเมื่อปี ค.ศ. 1992 ที่ Silom Complex ซึ่งสาขาที่ Future Park Rangsit เป็นสาขาที่ 10 ในประเทศไทย เมนูที่สั่งมาวันนี้คือ ชาชูเมน เมนูสุดธรรมดา แต่มีรสชาติที่ไม่ธรรมดา เลยทีเดียว ชามนี้อยู่ที่ราคา 93 บาท คุ้มค่าราคา เมนูนี้ไม่มีอะไรมากค่ะ นอกจากเส้นบะหมี่กับหมูอบซีอิ๊วญี่ปุ่นนุ่มๆ รสชาติของน้ำซุปนั้นจะออกรสเค็มกลมกล่อมกำลังดี บอกเลย...

รีวิว Shibuya Shabu บุฟเฟ่ต์ในราคาเพียง 374 บาท!!!!

Image
     วันนี้ Mana Jang มีโปรโมชั่นเด็ดดวงจะมาบอกค่ะ!! งานนี้สายกินห้ามพลาดกับโปรโมชั่นสุดคุ้มของบัตรเครดิต KTC ใช้คะแนนสะสม 2,999 คะแนน แลกรับสิทธิมา 2 จ่าย 1 ระยะเวลาโปรโมชั่น 1 พ.ย. 61 – 31 ม.ค. 62 เงื่อนไข : - ต้องชำระด้วยบัตรเครดิต KTC เท่านั้น และคะแนนต้องเพียงพอสำหรับการแลกรับสิทธิ์ด้วยการใช้บัตรเครดิต KTC ใบเดียวกัน - ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น ๆ / บัตรส่วนลด หรือ บัตรกำนัลของทางร้านได้ - การรับสิทธิ์สำหรับทุก ๆ 2 ท่าน และสามารถ รับสิทธิ์ได้ทุกวันตลอดระยะเวลารายการ โปรโมชั่นนี้สามารถใช้ได้ทุกสาขาค่ะ เมื่อเช็คคะแนนสะสมและหาคู่หูได้แล้วก็อย่ารอช้าค่ะ ไปกินกันเล้ยยยย!~      วันนี้ Mana Jang ได้มากินที่สาขา FYI Center อยู่ฝั่งตรงข้ามกับศูนย์การประชุมแห่งชาติศิริกิติ์ค่ะ เดินทางง่ายๆด้วยรถไฟใต้ดินค่ะ หรือถ้าคนไหนสะดวกขับรถมาเองก็ได้ค่ะ มีที่จอดทั้งรถยนตร์และรถมอเตอร์ไซค์ค่ะ หาประทับตราก็จะได้จอดฟรีค่ะ แต่ ได้แค่ 1 คันต่อ 1 ใบเสร็จเท่านั้น นะคะ แนะนำให้ไปคันเดียวกันนะคะ เพราะค่าที่จอดรถแพงมากมายเลยค่ะ TT      ร้า...